ชาวเลมี 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มมอเก็น ,มอเกล็น กับ กลุ่มอูรักลาโว้ย กลุ่มมอเก็นยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อย ๆ 2 กลุ่มตามถิ่นที่อยู่ คือ มอเก็นปูลาที่ลอยเรืออยู่ตาม เกาะมะริด (Mergui Archipelago) และชายฝั่งในประเทศพม่า ลงมาถึงบริเวณเกาะในจังหวัดระนอง หมู่เกาะสุรินทร์และหมู่เกาะสิมิลัน ในจังหวัดพังงา และมอเก็นตามับซึ่งอาศัยอยู่ตาม เกาะพระ ทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ตลอดจนแถบชายฝั่งของอำเภอตะกั่วป่า อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา และ อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต พวกมอเกล็นอาศัยอยู่บริเวณแหลมหลา จังหวัดภูเก็ต ท้ายเหมือง และตะกั่วป่า จ.พังงา ส่วนกลุ่มอูรักลาโว้ย เร่ร่อนอยู่บริเวณเกาะสิเหร่ หาดราไวย์ แหลมหลา บ้านเหนือ บ้านสะปำ จังหวัดภูเก็ต นักวิชาการบางคน เชื่อว่า ชาวเลเป็นชนเผ่าพื้นเมืองดั้งเดิมของมลายู ก่อนที่ชาวมลายูจะเข้ามาอาศัย เสียอีก ชาวมลายูเรียกชาวเลว่า โอรัง ละอุต (Orang Luat) แปลว่า คนทะเล
ชาวเลจะรวมกลุ่มและเดินทางไปในเรือพร้อมด้วยสมาชิก 10-40 คน ภายในกลุ่มจะมีผู้ชำนาญในการเดินเรือ และทำหน้าที่คล้ายหัวหน้ากลุ่มชาวเลจะย้ายถิ่นแบบชั่วคราว เพื่อไป หาอาหารตามที่ต่าง ๆ แถบชายฝั่งหรือปากแม่น้ำ โดยจะย้ายไปตามการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล โดยเฉพาะฤดูมรสุม นอกจากนี้ชาวเลอาจจะต้องมีการย้ายถิ่น เพราะภัยจาก ธรรมชาติ การถูกรุกรานจากกลุ่มอื่นเมื่อสมาชิกคนใดคนหนึ่งตายหรือหนีโรคระบาดอย่างใด อย่างหนึ่ง บ้านของ ชาวเลคือเรือ มีความยาวประมาณ 20-25 ฟุต แต่บางพวกอาจ สร้างบ้านชั่วคราวบนฝั่ง ทำจากใบปาล์ม หรือมะพร้าว ยกพื้นสูง ไม่มีระเบียงมีนอกชาน ชาวเลไม่ ปลูกเรือนขวางดวงอาทิตย์ (ประเทือง 2539, น.23-24) ปัจจุบัน ชาวเลเริ่มรู้จัก สร้างบ้านเรือนเลียนแบบคนพื้นเมือง ถาวร และเคลื่อนย้ายได้ยากขึ้น
ระบบครอบครัวของชาวเล เป็นครอบครัวขนาดเล็กจนถึงปานกลาง เพราะต้องร่อนเร่ย้ายถิ่นเพื่อหาอาหารตามที่ต่าง ๆ ชาวเลถือฝ่ายมารดาเป็นใหญ่พวกเขาถือว่ามีลูกสาวจะมีค่า เหมือนได้ทอง เพราะเมื่อแต่งงานแล้วลูกเขยจะมาอยู่กับภรรยา บิดามารดาของผู้หญิงจะได้แรงงานมาช่วย หน้าที่ของผู้ชาย ได้แก่ ออกทะเลไปหาปลา ตักน้ำ หาฟืนหุงอาหาร ซักผ้า ขณะที่ผู้หญิงสบายกว่า ผู้หญิงชาวเลจะรวมตัวกันริมชายหาด นั่งบ้าง นอนบ้าง (ประเทือง 2539, น.28) ปัจจุบัน ครอบครัวชาวเลเริ่มใช้นามสกุลตามกำหนดของราชการ นามสกุลที่สำคัญ ได้แก่ ทะเลลึก ช้างน้ำ ประมงกิจ นาวารักษ์ หาญทะเล เป็นต้น (ประเทือง 2539 น.30-32)
ระบบเศรษฐกิจของชาวเล ยังชีพด้วยการหาอาหารตามทะเลน้ำตื้น เช่น จับปลา ดักปลา และหาเก็บพืชผลที่ขึ้นเองตามชายฝั่ง อาหารหลักคือข้าว โดยได้มาจาก การแลกเปลี่ยน ชาวเลจะใช้ปลา เปลือกหอย ปะการัง ไปแลกข้าวกับชาวบ้าน (ประเทือง 2539, น.33 และ Lebar and others 1964, p.264) อาหารอื่นๆ ได้แก่ หัวกลอย มะพร้าว เผือก มันเทศ กล้วย นำมาต้ม ย่าง เผากินยามขัดสน ปัจจุบันชาวเลรับจ้างนายทุนงมสิ่งของในทะเล เช่น เปลือกหอยแปลก ๆ แทงกุ้ง ปลา หอย เป็นต้น
ศาสนาและความเชื่อของชาวเล ชาวเลไม่มีศาสนา แต่มีความเชื่อเรื่องผีและวิญญาณ ชาวเลนับถือบรรพบุรุษเรียกว่า “ดะโต๊ะ” โดยจะสร้างเป็นศาลไว้ มีรูปปั้นผีที่ชาวเล เชื่ออยู่ใน ธรรมชาติ เช่น ผีปู ผีหอย ผีไม้ ผีน้ำ ผีพุ่งใต้ (ผีชิน) ชาวเลเชื่อว่า ผีชินช่วยหาปลาบอกแหล่งอาศัยของปลาชาวเลยังเชื่อเรื่องโชคลาง มาก และเชื่อว่าผีควบคุมโชคชะตา การเจ็บป่วย (Lebar and others 1964, p.265 และประเทือง 2539, น.65-67) ชาวเล มีหมอผีประจำกลุ่ม ทำหน้าที่ทำนายโชคชะตา ดูฤกษ์ ยามในการสร้างบ้าน และเป็นผู้ประกอบ พิธีกรรม
ประเพณีที่สำคัญของชาวเล: พิธีลอยเรือ ชาวเลเชื่อกันว่าพิธีลอยเรือนี้จะเป็นพิธีที่ช่วยขับไล่สิ่งชั่วร้ายออกจากหมู่เกาะ ให้เรือนำเอาความชั่วร้ายอัปมงคลออกไป พิธีนี้จะปล่อยให้เรือ หาย ไปในทะเลลึก ถ้าเรือกลับขึ้นฝั่งแสดงว่าเป็นลางร้ายจะต้องทำพิธีกันใหม่ ประเพณีนี้จะกระทำในวันขึ้น 13-15 ค่ำและวันแรม 1 ค่ำของเดือน 6 และเดือน 11แต่ละครั้งใช้เวลา 4 วัน วันแรกจะเริ่มจากการอาบน้ำมนต์ ซึ่งชาวบ้านจะนำเอาโอ่งไหที่บรรจุน้ำและหัวไพลมาวางตรงลานบ้าน ชาวเลเชื่อว่า หัวไพลนั้นจะช่วยขับไล่สิ่งอัปมงคลออกจากร่างกาย แต่ละบ้านจัดเอาหมากพลู มะกรูดมะนาว ด้าย และเศษสตางค์มาประกอบในพิธีด้วย เมื่อเวลาพลบค่ำ โต๊ะหมอ ผู้นำในการประกอบพิธีจะสวดมนต์ทำพิธีและมีการร้องเพลง อันเชิญ เทพเจ้าให้มาคุ้มครองพวกเขา และหญิงสูงอายุของกลุ่มจะรำถวายเทพเจ้า จนถึงเช้าก็จะมีการ อาบน้ำมนต์เพื่อขับไล่สิ่งอัปมงคลออกไป วันรุ่งขึ้นก็จะทำพิธีลอยเรือ จะมีชาวเลกลุ่ม หนึ่งไปหาไม้เพื่อมาใช้ต่อเรือซึ่งจะใช้ไม้เนื้ออ่อนและไม้ระกำ ตอนบ่ายจะมีขบวนแห่ไม้ที่จะใช้นี้ไปรอยๆ หมู่บ้าน และทำพิธีในตอนกลาง คืนเมื่อช่วยกันต่อเรือเสร็จทุกคนจะมา พร้อมกันที่เรือ และจะนำข้าวตอกมาโปรดไปทั่วร่างกายเพื่อ เป็นการขับไล่สิ่งไม่ดีออกจากตัวแล้วจึงทิ้งข้าวตอกนั้นลงในเรือ วึ่งจะมีการรำไปรอบๆ เรือจนถึงเช้ามืดจึงช่วยกันยกเรือ พิธีไปใส่ในเรือจริงเพือ่นำไปปล่อยกลางทะเลลึก ซึ่งผู้ที่นำเรือไปปล่อยจะต้องเฝ้าดูว่าเรือนั้นจะไม่ย้อนกลับเข้าหาฝั่ง ก็เป็นอันเสร็จพิธี
ข้อมูลจาก http://www3.sac.or.th/ethnic/Content/Information/moken.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น