ชีวประวัติของท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร สองวีรสตรีเมืองถลาง ได้มีการบันทึก และเล่าสืบต่อกันมาว่า ท้าวเทพกระษัตรี เดิมชื่อจัน เป็นธิดาของจอมร้าง เจ้าเมืองถลาง ส่วนท้าวศรีสุนทร เดิมชื่อมุก เป็นน้องสาวร่วมบิดามารดา ของท้าวเทพกระษัตรี คุณจัน ถือกำเนิดที่บ้านตะเคียน เมืองถลาง ประมาณปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ในราวปี พ.ศ. 2278 ซึ่งอยู่ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ มารดาชื่อหม่าเสี้ย เป็นเชื้อสายเจ้าไทรบุรี มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 5 คน เป็นผู้ชาย 2ผู้หญิง 3 คือ คุณจัน คุณมุก คุณหมา (หญิง) คุณอาด และคุณเรือง คุณจันได้เข้าพิธีสมรสกับหม่อมศรีภักดี บุตรจอมนายกองเมืองตะกั่วทุ่ง เชื้อสายชาวนครศรีธรรมราช มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือคุณปรางและคุณเทียน
เมื่อสิ้นบุญพระยาพิมล คุณหญิงจันถูกพระยาธรรมไตรโลก เอาตัวไปไว้ที่ค่ายปากพระ ในเวลาเดียวกัน พม่าก็ยกกองทัพมาตีเมืองตะกั่วทุ่ง และค่ายปากพระได้ พระยาธรรมไตรโลกเสียชีวิตในที่รบ ส่วนท่านผู้หญิงจันกับบริวารหนีจากค่ายปากพระ มาตั้งมั่นสู้พม่าอยู่ที่เมืองถลาง เมื่อเมืองตะกั่วทุ่งแตกแล้ว พม่าก็ยกทัพเรือเลียบชายฝั่ง ลงไปทางใต้ มุ่งตีเมืองถลาง ตามที่ได้รับมอบหมายจากแม่ทัพใหญ่ คือ เกงหวุ่นเมงยี ฝ่ายเมืองถลางได้ข่าวว่าพม่า จะยกทัพมาตั้งแต่เดือนอ้าย ซึ่งเป็นเดือนที่พม่าเริ่มออกเดินทัพ จึงเตรียมตัวรับศึกป้องกันรักษาเมือง โดยจัดคนเข้าประจำรักษาค่าย และขอซื้อฝิ่นจากกัปตันฟรานซิส ไลท์ พ่อค้าชาวอังกฤษ ที่มาค้าขายกับเมืองถลางเพื่อให้คนยามเฝ้าค่ายกิน แต่ถึงคราวเคราะห์ของชาวถลาง ในขณะที่มีข่าวพม่ายกทัพมา พระยาถลางเจ้าเมืองกำลังป่วยหนัก และถึงแก่กรรมลงในที่สุด ยังไม่ทันได้จัดงานศพตามประเพณี และยังไม่ได้ตั้งผู้ใดเป็นเจ้าเมืองแทน ชาวบ้านชาวเมืองพากันเสียขวัญ ละทิ้งบ้านเรือนหนีเข้าป่า ครั้นเห็นคุณหญิงจันกลับมา ชาวบ้านก็มีขวัญกำลังใจดีขึ้น คุณหญิงจันสามารถรวบรวมผู้คน รวมทั้งอาวุธ ปืนใหญ่น้อยเข้าประจำค่าย เตรียมรับทัพพม่าอย่างเต็มความสามารถ คุณหญิงจันได้ประชุมนายทัพนายกอง เห็นพร้อมกันว่าทัพเรือของพม่า จะต้องยกมาจอดยกพลขึ้นบกที่ท่าตะเภา ซึ่งเป็นท่าเรือใหญ่ และใกล้เมืองถลางมากที่สุด แต่ได้สืบข่าวมาว่าข้าศึกมิได้ยกมาทางนั้น จึงได้แบ่งออกไปตั้งทัพอยู่ที่ หลังวัดพระนางสร้าง ป้องกันข้าศึกตีโอบ ยึดเอาวัดเป็นที่ตั้งฐานทัพ ได้มอบให้นายอาจ น้องชายคุณหญิงจันเป็นแม่กอง และได้ตั้งค่ายใหญ่ที่นบนางดัก โดยมอบให้นายทองพูน เป็นแม่กอง ส่วนคุณจัน เป็นผู้บังคับบัญชาการรบทั่วไป คุณมุกเป็นผู้ช่วยตรวจตราทั้งสองค่าย ศึกทางไหนหนักจะได้ช่วยทางนั้น กองทัพไทยมีพลน้อย ไม่สามารถจะออกโจมตีข้าศึกโดยซึ่งหน้า คุณหญิงจัน คุณหญิงมุก จึงสั่งให้ผู้บังคับบัญชาทุก ๆ ค่ายให้ระวังกวดขัน แล้วคัดเลือกผู้หญิงกลางคน ประมาณ 500 คน มาแต่งตัวอย่างผู้ชายเอาทางมะพร้าว มาตกแต่งถือแทนอาวุธ เพื่อลวงข้าศึก จัดขบวนทำทีจะยกเข้าตีทัพพม่า ลวงให้พม่าเห็นว่าทัพไทยมีกำลังเสริม ทำให้พม่าไม่กล้าโจมตี เป็นการหน่วงเหนี่ยวไว้ ทำให้ขาดเสบียงอาหาร และจัดกำลังออกรังควาญพม่า ที่ออกลาดตระเวน และหาเสบียงอาหาร บาดเจ็บล้มตายเป็นประจำทุกวัน พม่าล้อมเมืองถลางอยู่ได้ประมาณ 1 เดือน บาดเจ็บล้มตายไปประมาณ 300 - 400 คน ประกอบกับความเหนื่อยหน่าย ที่ได้ทำการรบมาเป็นเวลานาน ประมาณ 4 เดือน นับแต่ยกกองทัพออกมาจากเมืองมะริด เมื่อหมดความสามารถ ที่จะตีเอาเมืองถลางให้แตกได้ จึงเลิกทัพกลับไป เมื่อวันจันทร์ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 4 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2328
ครั้นพม่าเลิกทัพกลับไปแล้ว ความทราบถึงใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าให้มีตราไปยังเมืองถลาง ตั้งผู้มีความดีความชอบในสงคราม เป็นพระยาถลางขึ้นใหม่ แล้วโปรดตั้งคุณหญิงจัน เป็นท้าวเทพกระษัตรี โปรดตั้งคุณหญิงมุกน้องสาว เป็นท้าวศรีสุนทร อนุชนรุ่นหลังได้รำลึกถึงคุณความดี ของท้าวเทพกระษัตรี ผู้เป็นแม่แห่งแผ่นดินเมืองถลาง จึงได้ช่วยสร้างอนุสาวรีย์ไว้ ที่บ้านท่าเรือ ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต และกำหนดให้วันที่ 13 มีนาคม ของทุกปี เป็น วันถลางชนะศึก ถือเป็นวันเชิดชูเกียรติ ของท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร นำพวงมาลาสดุดีวีกรรม ของสองวีรสตรีศรีถลางสืบมา
เมื่อสิ้นบุญพระยาพิมล คุณหญิงจันถูกพระยาธรรมไตรโลก เอาตัวไปไว้ที่ค่ายปากพระ ในเวลาเดียวกัน พม่าก็ยกกองทัพมาตีเมืองตะกั่วทุ่ง และค่ายปากพระได้ พระยาธรรมไตรโลกเสียชีวิตในที่รบ ส่วนท่านผู้หญิงจันกับบริวารหนีจากค่ายปากพระ มาตั้งมั่นสู้พม่าอยู่ที่เมืองถลาง เมื่อเมืองตะกั่วทุ่งแตกแล้ว พม่าก็ยกทัพเรือเลียบชายฝั่ง ลงไปทางใต้ มุ่งตีเมืองถลาง ตามที่ได้รับมอบหมายจากแม่ทัพใหญ่ คือ เกงหวุ่นเมงยี ฝ่ายเมืองถลางได้ข่าวว่าพม่า จะยกทัพมาตั้งแต่เดือนอ้าย ซึ่งเป็นเดือนที่พม่าเริ่มออกเดินทัพ จึงเตรียมตัวรับศึกป้องกันรักษาเมือง โดยจัดคนเข้าประจำรักษาค่าย และขอซื้อฝิ่นจากกัปตันฟรานซิส ไลท์ พ่อค้าชาวอังกฤษ ที่มาค้าขายกับเมืองถลางเพื่อให้คนยามเฝ้าค่ายกิน แต่ถึงคราวเคราะห์ของชาวถลาง ในขณะที่มีข่าวพม่ายกทัพมา พระยาถลางเจ้าเมืองกำลังป่วยหนัก และถึงแก่กรรมลงในที่สุด ยังไม่ทันได้จัดงานศพตามประเพณี และยังไม่ได้ตั้งผู้ใดเป็นเจ้าเมืองแทน ชาวบ้านชาวเมืองพากันเสียขวัญ ละทิ้งบ้านเรือนหนีเข้าป่า ครั้นเห็นคุณหญิงจันกลับมา ชาวบ้านก็มีขวัญกำลังใจดีขึ้น คุณหญิงจันสามารถรวบรวมผู้คน รวมทั้งอาวุธ ปืนใหญ่น้อยเข้าประจำค่าย เตรียมรับทัพพม่าอย่างเต็มความสามารถ คุณหญิงจันได้ประชุมนายทัพนายกอง เห็นพร้อมกันว่าทัพเรือของพม่า จะต้องยกมาจอดยกพลขึ้นบกที่ท่าตะเภา ซึ่งเป็นท่าเรือใหญ่ และใกล้เมืองถลางมากที่สุด แต่ได้สืบข่าวมาว่าข้าศึกมิได้ยกมาทางนั้น จึงได้แบ่งออกไปตั้งทัพอยู่ที่ หลังวัดพระนางสร้าง ป้องกันข้าศึกตีโอบ ยึดเอาวัดเป็นที่ตั้งฐานทัพ ได้มอบให้นายอาจ น้องชายคุณหญิงจันเป็นแม่กอง และได้ตั้งค่ายใหญ่ที่นบนางดัก โดยมอบให้นายทองพูน เป็นแม่กอง ส่วนคุณจัน เป็นผู้บังคับบัญชาการรบทั่วไป คุณมุกเป็นผู้ช่วยตรวจตราทั้งสองค่าย ศึกทางไหนหนักจะได้ช่วยทางนั้น กองทัพไทยมีพลน้อย ไม่สามารถจะออกโจมตีข้าศึกโดยซึ่งหน้า คุณหญิงจัน คุณหญิงมุก จึงสั่งให้ผู้บังคับบัญชาทุก ๆ ค่ายให้ระวังกวดขัน แล้วคัดเลือกผู้หญิงกลางคน ประมาณ 500 คน มาแต่งตัวอย่างผู้ชายเอาทางมะพร้าว มาตกแต่งถือแทนอาวุธ เพื่อลวงข้าศึก จัดขบวนทำทีจะยกเข้าตีทัพพม่า ลวงให้พม่าเห็นว่าทัพไทยมีกำลังเสริม ทำให้พม่าไม่กล้าโจมตี เป็นการหน่วงเหนี่ยวไว้ ทำให้ขาดเสบียงอาหาร และจัดกำลังออกรังควาญพม่า ที่ออกลาดตระเวน และหาเสบียงอาหาร บาดเจ็บล้มตายเป็นประจำทุกวัน พม่าล้อมเมืองถลางอยู่ได้ประมาณ 1 เดือน บาดเจ็บล้มตายไปประมาณ 300 - 400 คน ประกอบกับความเหนื่อยหน่าย ที่ได้ทำการรบมาเป็นเวลานาน ประมาณ 4 เดือน นับแต่ยกกองทัพออกมาจากเมืองมะริด เมื่อหมดความสามารถ ที่จะตีเอาเมืองถลางให้แตกได้ จึงเลิกทัพกลับไป เมื่อวันจันทร์ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 4 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2328
ครั้นพม่าเลิกทัพกลับไปแล้ว ความทราบถึงใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าให้มีตราไปยังเมืองถลาง ตั้งผู้มีความดีความชอบในสงคราม เป็นพระยาถลางขึ้นใหม่ แล้วโปรดตั้งคุณหญิงจัน เป็นท้าวเทพกระษัตรี โปรดตั้งคุณหญิงมุกน้องสาว เป็นท้าวศรีสุนทร อนุชนรุ่นหลังได้รำลึกถึงคุณความดี ของท้าวเทพกระษัตรี ผู้เป็นแม่แห่งแผ่นดินเมืองถลาง จึงได้ช่วยสร้างอนุสาวรีย์ไว้ ที่บ้านท่าเรือ ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต และกำหนดให้วันที่ 13 มีนาคม ของทุกปี เป็น วันถลางชนะศึก ถือเป็นวันเชิดชูเกียรติ ของท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร นำพวงมาลาสดุดีวีกรรม ของสองวีรสตรีศรีถลางสืบมา
4 ความคิดเห็น:
วันนี้ 13 มีนาคม ขับรถผ่านอนุสาวรีย์ ท้าวเทพกษัตรี ท้าวศรีสุนทร เห็นคนเยอะแยะ ทำพฺิธีสักการะบูชาประจำปี อยากลงไปร่วมด้วยจังเลย แต่ว่ากลัวไปทำงานไม่ทัน เลยฝากสักการะผ่านทางเว็บนี้แล้วกัน
แพรวา กล่าวว่า
ทั้งสองท่านเป็นวีรสตรีที่เก่งมากค่ะ
thank you สำหรับข้อมูล
เก่งงงงงงงงงงมากกกกกกกกกกก
แสดงความคิดเห็น