พระยารัษฎานุประดิษฐ์ (คอซิมบี้) เกิดที่จังหวัดระนอง เมื่อวันพุธ เดือน 5 ปีมะเส็ง พ.ศ. 2400 เป็นบุตรชายคนสุดท้องของ พระยารัตนเศรษฐี (คอซูเจียง) จีนฮกเกี้ยน ที่ได้รับบรรดาศักดิ์เลื่อนฐานะจากพ่อค้าเป็นขุนนาง พระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ มีมารดาเป็นชาวนา ชื่อกิ้ม มีพี่ชายต่างมารดา 5 คนดังนี้
1. คอซิมเจ่ง (หลวงศรีโลหภูมิพิทักษ์ ผู้ช่วยราชการเมืองระนอง)
2. คอซิมก๊อง (พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี สมุหเทศาภิบาลมณฑลชุมพร)
3. คอซิมจั๋ว (หลวงศักดิ์ศรีสมบัติ ผู้ช่วยราชการเมืองระนอง)
4. คอซิมขิม (พระยาอัษฎงคตทิศรักษา ผู้ช่วยราชการเมืองกระบุรี)
5. คอซิมเต๊ก (พระยาจรูญราชโภคากรณ์ ผู้ช่วยราชการเมืองหลังสวน)
พระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ เริ่มรับราชการในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อ พ.ศ. 2425 โดยพี่ชายคือ พระยารัตนเศรษฐี (คอซิมก๊อง) เจ้าเมืองระนองขณะนั้นเป็นผู้นำตัว ไปถวายเป็นมหาดเล็ก และได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่ หลวงบริรักษ์โลหะวิไสย ผู้ช่วยเมืองระนอง แล้วเลื่อนเป็นที่ พระวัษฎงคตทิศรักษา เจ้าเมืองกระบุรี
เมื่อพ.ศ. 2428 ได้แสดง ความสามารถ สร้างบ้านบำรุงเมืองให้เป็นที่ปรากฎ จึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่ พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี เจ้าเมืองตรังในปี พ.ศ. 2433 และในปี พ.ศ. 2455 โปรดเกล้าให้เป็น สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต
พระยารัษฎานุประดิษฐ์ มีบทบาทที่สำคัญหลายประการดังนี้
1. ด้านการปกครอง กุศโลบายหลักในการปกครองของท่านคือ หลักพ่อปกครองลูก ทำนองเดียวกับที่ใช้ในยุคสุโขทัย นอกจากจะยึดหลักพ่อปกครองลูกแล้ว ยังยึดหลักในการแบ่งงาน และความรับผิดชอบแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ดังจะเห็นได้จาก การริเริ่มจัดตั้งที่ว่าการกำนันขึ้นเป็นแห่งแรก ที่มณฑลภูเก็ต และได้จัดระเบียบการประชุมผู้ใหญ่บ้าน กำนัน นายอำเภอให้เป็นที่แน่นอน
2. ด้านการส่งเสริมอาชีพราษฎร อาจจะเป็นเพราะพระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ เกิดในตระกูลพ่อค้า ท่านจึงมีโลกทรรศน์ ต่างจากขุนนางอื่น ๆ คือ มีอุปนิสัยบำรุงการค้า เมื่อเป็นเจ้าเมืองตรังได้ย้ายจากตำบลควนธานีไปอยู่ตำบลกันตังด้วยเหตุผลที่ว่า มีทำเลการค้าที่ดีกว่า เรือกลไฟ เรือสินค้าใหญ่ สามารถเข้าถึงได้สะดวก เหล่านี้เป็นต้น
3. ด้านการคมนาคม พระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ ให้ความสำคัญเป็นที่สุด โดยเฉพาะการสร้างถนน
4. ด้านการรักษาความสงบและปราบปรามโจรผู้ร้าย พระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ ได้สร้างความคิดใหม่ขึ้นในหมู่ราษฎร กล่าวคือ ราษฎรทุกคนต้องถือเป็นหน้าที่โดยเพื่อนบ้าน และเจ้าหน้าที่ในการปราบปรามโจรผู้ร้ายจะทอดธุระให้แก่เจ้าพนักงาน บ้านเมืองฝ่ายเดียวไม่ได้
5. ด้านการศึกษา แม้พระยารัษฎานุประดิษฐ์จะเขียนหนังสือไม่ได้ แต่ท่านก็ประจักษ์ในคุณประโยชน์ของการศึกษา ได้พยายามสนับสนุนในทุกทาง เริ่มแรกให้ใช้วัดเป็นโรงเรียน จัดหาครูไปสอน บางครั้งก็นิมนต์พระสงฆ์ไปสอน นอกจากนี้ ยังได้คัดเลือกบุตรหลานข้าราชการ ผู้ดีมีสกุลในจังหวัดต่าง ๆ ไปเรียนภาษาอังกฤษที่ปีนัง เป็นต้น
6. ด้านการสาธารณสุข นอกจากพระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ จะรณรงค์เรื่องความสะอาด บังคับให้ราษฎรดูแลบ้านเรือน ให้สะอาดเรียบร้อย
ผลงานของพระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ นับได้ว่าเป็นเลิศกว่านักปกครองคนอื่น ๆ ในยุคเดียวกัน ท่านได้รับการยกย่อง แม้ในหมู่ชาวต่างประเทศและตลอดแหลมมลายูยุคนั้นว่า เป็นผู้มีความสามารถสูง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นทั้งนักปกครอง และนักพัฒนาในเวลาเดียวกัน
เพื่อเป็นการแสดงกตัญญูต่อพระยารัษฎานุประดิษฐ์ ราษฎรและข้าราชการ จังหวัดตรังจึงได้สละทรัพย์สมทบ สร้างอนุสาวรีย์ พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดีขึ้นที่ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง ในวันที่ 10 เมษายน ของทุก ๆ ปีซึ่งเรียกกันว่า "วันพระยารัษฎานุประดิษฐ์" จะมีการวางพวงมาลาที่อนุสาวรีย์
1. คอซิมเจ่ง (หลวงศรีโลหภูมิพิทักษ์ ผู้ช่วยราชการเมืองระนอง)
2. คอซิมก๊อง (พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี สมุหเทศาภิบาลมณฑลชุมพร)
3. คอซิมจั๋ว (หลวงศักดิ์ศรีสมบัติ ผู้ช่วยราชการเมืองระนอง)
4. คอซิมขิม (พระยาอัษฎงคตทิศรักษา ผู้ช่วยราชการเมืองกระบุรี)
5. คอซิมเต๊ก (พระยาจรูญราชโภคากรณ์ ผู้ช่วยราชการเมืองหลังสวน)
พระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ เริ่มรับราชการในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อ พ.ศ. 2425 โดยพี่ชายคือ พระยารัตนเศรษฐี (คอซิมก๊อง) เจ้าเมืองระนองขณะนั้นเป็นผู้นำตัว ไปถวายเป็นมหาดเล็ก และได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่ หลวงบริรักษ์โลหะวิไสย ผู้ช่วยเมืองระนอง แล้วเลื่อนเป็นที่ พระวัษฎงคตทิศรักษา เจ้าเมืองกระบุรี
เมื่อพ.ศ. 2428 ได้แสดง ความสามารถ สร้างบ้านบำรุงเมืองให้เป็นที่ปรากฎ จึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่ พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี เจ้าเมืองตรังในปี พ.ศ. 2433 และในปี พ.ศ. 2455 โปรดเกล้าให้เป็น สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต
พระยารัษฎานุประดิษฐ์ มีบทบาทที่สำคัญหลายประการดังนี้
1. ด้านการปกครอง กุศโลบายหลักในการปกครองของท่านคือ หลักพ่อปกครองลูก ทำนองเดียวกับที่ใช้ในยุคสุโขทัย นอกจากจะยึดหลักพ่อปกครองลูกแล้ว ยังยึดหลักในการแบ่งงาน และความรับผิดชอบแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ดังจะเห็นได้จาก การริเริ่มจัดตั้งที่ว่าการกำนันขึ้นเป็นแห่งแรก ที่มณฑลภูเก็ต และได้จัดระเบียบการประชุมผู้ใหญ่บ้าน กำนัน นายอำเภอให้เป็นที่แน่นอน
2. ด้านการส่งเสริมอาชีพราษฎร อาจจะเป็นเพราะพระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ เกิดในตระกูลพ่อค้า ท่านจึงมีโลกทรรศน์ ต่างจากขุนนางอื่น ๆ คือ มีอุปนิสัยบำรุงการค้า เมื่อเป็นเจ้าเมืองตรังได้ย้ายจากตำบลควนธานีไปอยู่ตำบลกันตังด้วยเหตุผลที่ว่า มีทำเลการค้าที่ดีกว่า เรือกลไฟ เรือสินค้าใหญ่ สามารถเข้าถึงได้สะดวก เหล่านี้เป็นต้น
3. ด้านการคมนาคม พระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ ให้ความสำคัญเป็นที่สุด โดยเฉพาะการสร้างถนน
4. ด้านการรักษาความสงบและปราบปรามโจรผู้ร้าย พระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ ได้สร้างความคิดใหม่ขึ้นในหมู่ราษฎร กล่าวคือ ราษฎรทุกคนต้องถือเป็นหน้าที่โดยเพื่อนบ้าน และเจ้าหน้าที่ในการปราบปรามโจรผู้ร้ายจะทอดธุระให้แก่เจ้าพนักงาน บ้านเมืองฝ่ายเดียวไม่ได้
5. ด้านการศึกษา แม้พระยารัษฎานุประดิษฐ์จะเขียนหนังสือไม่ได้ แต่ท่านก็ประจักษ์ในคุณประโยชน์ของการศึกษา ได้พยายามสนับสนุนในทุกทาง เริ่มแรกให้ใช้วัดเป็นโรงเรียน จัดหาครูไปสอน บางครั้งก็นิมนต์พระสงฆ์ไปสอน นอกจากนี้ ยังได้คัดเลือกบุตรหลานข้าราชการ ผู้ดีมีสกุลในจังหวัดต่าง ๆ ไปเรียนภาษาอังกฤษที่ปีนัง เป็นต้น
6. ด้านการสาธารณสุข นอกจากพระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ จะรณรงค์เรื่องความสะอาด บังคับให้ราษฎรดูแลบ้านเรือน ให้สะอาดเรียบร้อย
ผลงานของพระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ นับได้ว่าเป็นเลิศกว่านักปกครองคนอื่น ๆ ในยุคเดียวกัน ท่านได้รับการยกย่อง แม้ในหมู่ชาวต่างประเทศและตลอดแหลมมลายูยุคนั้นว่า เป็นผู้มีความสามารถสูง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นทั้งนักปกครอง และนักพัฒนาในเวลาเดียวกัน
เพื่อเป็นการแสดงกตัญญูต่อพระยารัษฎานุประดิษฐ์ ราษฎรและข้าราชการ จังหวัดตรังจึงได้สละทรัพย์สมทบ สร้างอนุสาวรีย์ พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดีขึ้นที่ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง ในวันที่ 10 เมษายน ของทุก ๆ ปีซึ่งเรียกกันว่า "วันพระยารัษฎานุประดิษฐ์" จะมีการวางพวงมาลาที่อนุสาวรีย์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น